นายอนุรักษ์ โคผดุง
(Mr Anurak Khophadung)
ครูคอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้รายงาน
- ชื่อ – สกุล นายอนุรักษ์ โคผดุง
- ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
- สถานศึกษา โรงเรียนภูเขียว สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 2
ตอนที่ 2 ภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 33 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ รวมจำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา รวมจำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น รวมจำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 31 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ รวมจำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา รวมจำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น รวมจำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ตอนที่ 3 การปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ด้านที่ 1: ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
ดำเนินการจัดทำและพัฒนารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชาวิทยาการคำนวณ รหัสวิชา ว21103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และรายวิชา ว31181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร บริบทของสถานศึกษาและผู้เรียน
1.2 การออกแบบ การจัดการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 Es of Inquiry-Based Learning) ในวิชาวิทยาการคำนวณ รายวิชา ว21103 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรายวิชา ว32181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ วิชา ว21103 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรายวิชา ว32181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
พัฒนาและปรับประยุกต์ใช้สื่อประกอบการสอนวิชา ว21103 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรายวิชา ว32181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ม.4
1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้
พัฒนาแบบวัดและประเมินผลวิชา ว21103 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรายวิชา ว32181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งระหว่างการเรียนรู้ และหลังจบหน่วยการเรียนรู้
1.6 ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา การเรียนรู้
ทำการศึกษาวิเคราะห์การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รายวิชา ว21103 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรายวิชา ว32181 วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
พัฒนารูปแบบการจัดบรรยากาศชั้นเรียนที่หลากหลายรูปแบบ รูปแบบ Online โดยใช้ Line กลุ่มประสานงาน ใช้ระบบการประชุมออนไลน์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างความสนใจในการเรียนรู้โดยใช้เกมส์ ตลอดจนให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงาน
1.8 อบรมและพัฒนาลักษณะที่ดีของผู้เรียน
พัฒนารูปแบบการดำเนินการ โดยใช้รูปแบบ Online จัดทำ Line กลุ่มห้องเรียนที่ปรึกษาและห้องเรียนประจำวิชา ให้คำปรึกษาและการใช้สื่อ สนับสนุน สร้างโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน เป็นแบบอย่างที่ดีและให้คำปรึกษาการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียนโดยเป็นผู้นำในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ด้านที่ 2: ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ดำเนินการใช้ข้อมูลสารเทศ บันทึกหลังการสอน รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานการคัดกรองนักเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองมาใช้ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการให้คำปรึกษานักเรียนผ่านระบบ Line Group ของห้องเรียนประจำชั้นและห้องเรียนประจำวิชา
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ ตามปฏิทินงานวิชาการของโรงเรียนภาคเรียนที่ 2/2565 และ 1/2566 และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาตามคำสั่งมอบหมายปฏิบัติงาน และการเตรียมข้อมูลการนำเสนอต่าง ๆ เช่น รับการนิเทศเปิดภารเรียน และ Quick Policy เป็นต้น
2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ
ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง โดยการประชุมผู้ปกครองออนไลน์และการประสานงานกับผู้ปกครอง เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการให้คำปรึกษานักเรียนประจำชั้นและร่วมแก้ไขปัญหาหรือติดตามผลการเรียนของนักเรียนรายบุคคล
ด้านที่ 3: ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การอบรมเพิ่มความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย
- การจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning GPAS
- การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สพม.ชย. ประจำปีงบประมาณ 2566
- การวิเคราะห์และออกแบบดิจิทัล เสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การแสดงผลงาน เพื่อพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพม.ชัยภูมิ ตามนโยบายเร่งด่วน “Quick Policy”
- การคิดเชิงคำนวณผ่านกิจกรรมการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์
- การพัฒนาศักยภาพครูแกนนำโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- การประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการบริหารจัดการสู่องค์กรดิจิทัล
3.2 มีส่วนร่วมเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
- รางวัลชนะเลิศครูเด่นด้าน Coding ประเภทการจัดการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ Unplugged Coding สพม.ชันภูมิ
- ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอ ผลงานดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards” ครั้งที่ 2 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2566
- จัดรายงานผลการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนบนฐานสะเต็มศึกษา พหุปัญญา และเทคโนโลยีดิจิทัล
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้
นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการออกแบบ/สร้างสถานการณ์ปัญหาที่ใช้ประกอบการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีความรู้และความสามารถสอดคล้องกับตัวชี้วัดและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ตอนที่ 4 การพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
วิธีการดำเนินการ
ริเริ่ม พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง เงื่อนไขและการแก้ปัญหา รายวิชา ว31181 วิทยาการคำนวณระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
1. วิเคราะห์จัดการเรียนรู้ Coding
- ด้านความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้
- ด้านลักษณะของผู้เรียนรายบุคคล
- ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้
2. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้
3. นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้
4. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
- ผลที่เกิดกับผู้เรียน
- ผลงานนักเรียน
- ความพึงพอใจในผลการจัดการเรียนรู้ Coding ของนักเรียน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียนที่คาดหวัง (เชิงปริมาณ)
การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เงื่อนไขและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 พบว่า นักเรียนเข้าเรียนจำนวน 32 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 91.42 โดยผู้เรียนแต่ละกลุ่มมีผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดหวัง (เชิงคุณภาพ)
การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เงื่อนไขและการแก้ปัญหา ซึ่งผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม และได้สร้างผลงานของกลุ่มตนเองจากการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding โดยผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางการคิดเชิงคำนวณ แยกส่วนประกอบและย่อยปัญหาในการดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งมีการกำหนดสิ่งที่สำคัญและทรัพยากรที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาตามการคิดเชิงนามธรรม และมีการใช้รูปแบบการดำเนินการต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้แนวคิดสร้างผลงาน อีกทั้งได้กำหนดเงื่อนไขและการดำเนินการภาย
ใต้เงื่อนไขนั้น ๆ โดยผลงานของผู้เรียนทั้ง 8 ผลงาน ได้รับการประเมินในระดับดีขึ้นไปทุกผลงาน แสดงได้ดังรูปต่อไปนี้
การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาการคำนวณที่มีกระบวนการ Active Learning ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในทุก ๆ คาบเรียนทั้งกิจกรรมแบบ Plugged Coding และ กิจกรรม Unplugged Coding ตลอดจนการส่งเสริมความสามารถผู้เรียนในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ Coding ทั้งกิจกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ซึ่งในทุกปีการศึกษา การสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อผู้ปกครอง ส่งผลให้ผู้ปกครองมีการรับรู้และพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนและได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากผู้ปกครอง มาปรับปรุงกิจกรรมและการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
You must be logged in to post a comment.